วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลเช็งเม้ง









บ้านผม  ถือโอกาศที่เทศกาลเช็งเม้งเพิ่งเริ่ม  คนยังไปที่สุสานน้อย  เดินทางกันก่อน  ซึ่งก็สะดวกสบายสมใจ  พวกเราถือว่าการที่ได้มาแสดงความเคารพบรรพชนกันถึงที่นี่  เป็นมงคลแก่ตนอย่างยิ่ง  และเป็นการร่วมกิจกรรมของครอบครัว  หลังจากที่ต่างคนมักติดภารกิจจนไม่ค่อยมีโอกาศ  ได้พบปะกันในหมู่พี่น้องเลย
มีเรื่องเล่ามากมายเกี่นวกับการไหว้บูชา บางเรื่องก็ชวนคิด พิศวงว่าจะเชื่อดีไหมหว่า
อันนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณกัน นะครับ  อย่างเรื่องการเผากระดาษเงิน กระดาษทองเรื่องหนึ่งล่ะ  
มักมีคนถามว่า  เผาไปแล้วเขาได้รับหรือ? ..ใครจะตอบได้ล่ะครับ..  เรื่องผีๆ
      คนอยากรู้ก็เลยไปถามผีซะเลย  ก็อาศัยสำนักทรงน่ะแหล่ะครับ  ติดต่อกับผีให้  ก็ได้เรื่องครับ ..ได้เรื่องเพิ่ม เช่น เวลาเผาเงินทองนะ  อย่าเอาไม้เขี่ย เงินเละเทะ  ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง ,
บ้างก็ว่า เผามาแต่แบงค์ล้าน แบงค์แสน ที่นี่เขาไม่มีเงินทอน..ส่งย่อยๆมาบ้าง ยิ่งเหรียญเงินยิ่งหายาก( ใครเคยดูบ้าง  ว่าแบ้งค์กงเต็กมีค่าแต่ละฉบับนะ  เท่าไหร๋ )
      มีอยู่บ้านนึง ตอนอม่าเสีย เผาบ้านกงเต็กหลังเบ้อเริ่มไปให้ พร้อมเครื่องใช้ไม้สอยครบครัน เ
งินทองอีกตั้งมากมาย..ลูกหลานกระหยิ่มยิ้มย่องว่า  อม่าสบายแน่ๆ  พอมีโอกาส  ไปถามคนทรง 
ปรากฏว่า  อม่าแกตัดพ้อลูกหลานใหญ่เลย   ว่าซื้อบ้านหลังเบ้อเร้อให้  แต่ไม่มีคนใช้มาให้  และยังไม่มีถังน้ำใช้เลย  เลยไม่มีน้ำจะใช้เพราะไม่มีที่ใส่ เนียบ้านช่องไม่ได้ทำความสะอาดเลย  น้ำท่าก็ไม่ได้อาบ
ลูกหลานต้องลนลานจัดหาถังกงเต็กส่งไปให้
(สงสัยยังไม่มีสัมปทานเดินท่อประปาแน่ๆ .. ใครสนใจ ติดต่อท่านยมฯกันเองนะครับ)
      สุสานสุขสมบูรณ์ที่ผมไปไหว้อยู่ที่จ.ชลบุรี ดังนั้นพอเราเซ่นไหว้เสร็จ ก็เลย แวะเที่ยวกันต่อ ก่อนอื่นไปไหว้เจ้าแม่เขาสามมุขก่อน ที่นี่มีประวัติยาวนาน เอาไว้ หาโอกาศ เล่าให้ฟังอีกที  ตอนนี้ดูรูปไปก่อน
แต่ศาลเจ้าที่นี่นะ เทพเจ้าเพียบ ผมลองนับดู เกิน 10 องค์ ขึ้นไป ใครชอบไหว้เจ้าละก็ ขอแนะนำ..ที่เดียวคุ้ม








เจ้าแม่เขาสามมุข


























เจ้าแม่กวนอิม






















ไต้เซี่ยฮุกโจ้วหรือเทพเห้งเจีย ที่ชาวไทยและแม้แต่ฝรั่งยังรู้จัก














แล้วเราก็ไปจบทัวร์ที่ บางแสน ตามสุตรนิยมของผู้ที่มาไหว้ที่ชลบุรี
ดูเด็กๆเล่นน้ำ นั่งตา-กลม ตาก-ลมก่อนกลับ



สำหรับประวัติของเทศกาลเช็งเม้ง ขอยืมของวิกิพิเดียมาอธิบายก็แล้วกันนะครับ..สวัสดี
เทศกาลเช็งเม้ง
 (qing-ming, อักษรจีนตัวเต็ม: 清明節, อักษรจีนตัวย่อ: 清明节, พินอิน: Qīngmíngjié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว)
"เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง
 รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์
            เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 - 20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)
           สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก
แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน)
แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน)
แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี
          ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย)
 เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ
ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ


ตำนานการเกิดเช็งเม้ง
          ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น
ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้


          เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวย
เพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและ
ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง
 และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน
 แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป
 จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย
โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง
แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ
          จิ้นเหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน
แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง
ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี
ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ
จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ
เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน
          เนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ย
ต่อเนื่องไปจนถึงวันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน
          เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว
 เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด
จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนลางเต็มทน
จากสงคราม    พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิฐานต่อสวรรค์ด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้า
แล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน
ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์
และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง
 ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุ่มศพก็เริ่มมาจากตรงนี้เอง
ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง


          เพื่อ รำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้ทำ,ดูแลเรา ,ลำบากตรากตรำ ก่อร่างสร้างตัวเพื่อลูกหลานมีความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต


          เพื่อให้ลูกหลานที่อยู่กระจัด กระจาย ได้มาเจอหน้ากัน พบปะ เพื่อสร้างความสามัคคี จัดเป็นวันรวมญาติ รวมตระกูลเลยก็ว่าได้ เพราะงั้นจึงควรที่จะนัดไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน )


          เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตให้แก่ลูกหลาน ให้เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและบรรพบุรุษ ลูกหลานจึงควรปฏิบัติตาม เป็นการเตือนสติแก่ตนเองว่า ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์


ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง



           การ ไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่สุสานนั้น ต้องไหว้ในช่วงเช้าก่อนเวลา 12.00 น.
เมื่อไปถึงสุสานให้ไหว้ศาลเจ้าที่แป๊ะกงเสียก่อนด้วยอาหารคาวหวาน ผลไม้ ขนมอี๋ 5 ที่ 5 ถ้วย
เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้ง 5 โดยจุดธูปไหว้ 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตู
หรือที่เรียกกันว่า “มึ่งซิ้ง” ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก 2 ดอก ปักที่เสาประตูข้างละดอก
            จากนั้นจึงไปที่ ฮวงซุ้ย ทำความสะอาดปัดกวาด ดายหญ้า ปลูกต้นไม้ดอกไม้ 
อาจลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ โดยคนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว
ส่วนคนเป็นให้ลงสีแดง และมีการกางเต็นท์ไว้กันแดด
 ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้เมื่อถึงเทศกาลเช็งเม้งจะมีคนมาคอยบริการให้
โดยเสียค่าบริการเท่านั้น
           นอกจากนี้ มีธรรมเนียมการนำสายรุ้งมาประดับตกแต่งบนเนินหลุมศพด้วย
บรรดาลูกหลานจะนำสายรุ้งสีสันต่างๆ รวมทั้งธงมาตกแต่งเต็มไปหมด
ตามธรรมเนียมให้ใช้ กระดาษม้วนสีแดงสำหรับ? สุสานคนเป็น (แซกี)
ส่วนสุสานคนตาย (ฮกกี) ใช้หลากสีได้ ส่วนเรื่องธงนี้บ้างบ้านก็ห้ามปักกัน
เพราะถือว่าเป็นของแหลมที่ทิ่มแทงเข้าไปบนหลุม
อาจทำให้หลังคาบ้านบรรพบุรุษรั่วได้ ซึ่งก็เป็นความเชื่อของแต่ละคน


*** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจียะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )


เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ***
          หลังจากนั้นจึงจัดเตรียมของเซ่นไหว้ ในการไหว้ต้องไหว้เทพยดาผืนดิน
 หรือโท้วตี่ซิ้ง เสียก่อน ด้วยธูป 5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่
ของไหว้จะเหมือนกับที่ไหว้แป๊ะกง
 ต่อมาผู้อาวุโสในบ้านจะเป็นผู้นำกราบไหว้ ด้วยการจุดธูป 3 ดอกไหว้บรรพบุรุษ
และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ)
          รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) จึงเผากระดาษเงินกระดาษทอง และมีการจุดประทัดส่งท้าย ถือเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีทั้งหลายไม่ให้มารบกวนบรรพบุรุษ
          เมื่อ เสร็จพิธีไหว้แล้ว บางครอบครัวอาจรับประทานอาหารร่วมกันที่หน้าหลุมศพ เสมือนเป็นการรับประทานอาหารพร้อมหน้ากับบรรพบุรุษด้วย สะท้อนความเชื่อที่ว่า คนตายนั้นตายไปเพียงร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับเรา
          พิธี เชงเม้ง ผู้อาวุโสจะเป็นผู้นำกราบ เป็นอันเสร็จพิธีบางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการแสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น